ความยั่งยืน

การบริหารความเสี่ยง

  • 26 พ.ย. 2567
  • Economics & Governance
  • Share :
เรามีการบริหารความเสี่ยงในการผลิตและการดำเนินงานเบื้องต้นภายใต้กรอบของการปฏิบัติงานตาม ISO 9001 : 2015 ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบริหารความเสี่ยงของกิจการ อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ยังไม่เพียงพอต่อการบริหารความเสี่ยงเพื่อความยั่งยืน ทางเราอยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อพัฒนานโยบายความเสี่ยงของเราให้ครอบคลุมถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดของห่วงโซ่อุปทาน 
 
ขอบเขต
  • ทุกบริษัทในกลุ่ม
  • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานของกลุ่ม
เป้าหมาย
  • ระบุความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานของกิจการ
  • กำหนดแนวทางป้องกันความเสี่ยง และแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นตามลำดับความสำคัญของความเสี่ยง
กระบวนการทำงาน
  • จัดทำ Risk Metrix เพื่อประเมินโอกาสที่จะเกิด และผลกระทบของความเสี่ยงที่สำคัญ
  • กำหนดตัวชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicators, “KRIs”)
  • กำหนดแนวทางป้องกันความเสี่ยง และแนวทางแก้ไขปัญหาให้คลอบคลุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • จัดทำแผนรองรับความเสี่ยง วิธีการปฏิบัติต่างๆ โดยเฉพาะระบบการบริหารความต่อเนื่องในการดำเนินงาน (Business Continuity Plan, “BCP”) เพื่อแก้ไขหรือลดความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น
  • ส่งเสริมให้พนักงานและผู้บริหารทุกระดับชั้นมีความรู้และตระหนักถึงการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
  • ระบุความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ และผลกระทบของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดระยะเวลา และนำมาพัฒนาการบริหารความเสี่ยงตามขั้นตอนข้างต้นทั้งหมด
ผลลัพธ์ในปี 2024
  • ทวนสอบการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2015
  • วางแผนและเตรียมความพร้อมในการกำหนดความเสี่ยงที่มีในห่วงโซ่อุปทาน

กิจกรรมอื่นๆ

ดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส และรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้หลักจริยธรรมทางธุรกิจที่สูงสุด เพื่อกำหนดหลักการพื้นฐานและแนวทางปฏิบัติที่พนักงานและผู้บริหารทุกคนต้องยึดถือ เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นของกลุ่มฯ

มีนโยบายที่ชัดเจนในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นทุกประเภท และมุ่งมั่นจะเข้าเป็นสมาชิกของแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption, “CAC”) ภายในปี 2025

Top